Tuesday, June 16, 2009

Articles about Khao Lak: The Weather

Clouds Monsoon

The best time for Khaolak and the Andaman Sea is from November to April. November is the coolest month of the year with day temperatures of 28 - 30ºC, the nightly temperature is regularly 5 - 7 degrees lower.

The temperatures are slowly raising from November until May, in January, you can expect temperatures of 30 - 33ºC, in April the temperatures will climb up to 35 - 37ºC and occasionally downpours might occur.

The monsoon season lasts from May through to October with temperatures slowly declining to their lowest level in November. During this period, the sea is rough and swimming is not recommended. Watch out for the red flag shown on most beaches and exercise additional care when playing in the waves. While many diving schools at Khaolak will close down due to a lack of customers, diving will be available on Phuket, Koh Phi Phi and Krabi.

Friday, May 29, 2009

Activities in Khao Lak


Activities in Khao Lak:
Overview

There are many activities available in Khaolak. If you are looking for some easy excursion or some strenuous trekking experience in the mountains around, you will find a wide range offered from the tour operators in the Khao Lak region. For dive enthusiasts, the Similan Islands with their world-class dive sites are just 50 kilometres away.

Monday, April 6, 2009

Transfers to/from Khao Lak

There are many different ways to reach Khaolak. You could fly from Bangkok to either Phuket or Surat Thani and then transfer here by public bus or private minibus/limousine. You could catch the train from Bangkok to the South and transfer in the same way from Surat Thani. Similarily, you could travel from Hatyai to the North to get off at either Phuket or Surat Thani.
Should you arrive by public bus from Hatyai or Krabi, get off before reaching the bridge to Phuket at Kok Kloi, where you can change to a bus from Phuket to Surat Thani (via Takuapa) to get off at Khaolak. Travelling in Thailand is safe, fun and easy and getting here will be part of your vaction and not a chore.

When you have ordered private transportation in advance, you have to walk through the doors to the outside of the airport arrival hall or the trainstation, where you will see the guides and representatives of the hotels waiting with their signs. Please look out for a sign, that is showing your names. Should you arrive directly from abroad, take the opportunity to change money at the airport, where several bank offices have counters in the arrival hall. Kindly contact the guide before and inform him/her, that you need some more time to change money. Otherwise he/she will start to look around for you and you might miss him/her.

Thursday, April 2, 2009

Detail Maps Kho Khao Island








Khao Lak is located about 50 kilometres north of Koh Phuket Island on the mainland in Phang Nga province. Most of its sandy beaches stretch from the Khaolak-Lumru National Park in the South for about 20 kilometres northwards, starting with Sunset Beach, Nang Tong Beach, Bangniang Beach, Khuk Khak Beach, Pak Wib Beach and Bangsak Beach in the very North. Close by, in Baan Naam Kem Village, is the small ferry port to Koh Kho Khao Island, which is the northern end of the Khao Lak region. The old tin mining town of Takuapa is just a few kilometres further on. A single beach, namely Khaolak Beach is located south of and adjacent to Khaolak Lamru National Park.

Koh Kho Khao Island lies off the coast of Takuapa to the North of Khaolak. Koh Kor Kao Island's western coast has endless beaches lined by Casuarina trees while the interior is covered by grassland. Several wild animals dwell Kho Koh Khao Island, and sea turtles use to lay their eggs in its sands, between November and February. Those, interested in this fascinating event will have the possibility to observe turtles in their natural environment during their stay on Koh Koh Khao Island.

Koh Kor Kao Island is already well developed, boasting surfaced roads and a car ferry to cross the few hundred metres wide canal, which separates Ko Koh Khao Island from the mainland. An extensive flat grassland area close to the northern tip was used as an airfield by the Japanese during World War II and influential people are already talking about an airport on Kho Khor Khao Island.

Koh Koh Khao Island is spelled in many different ways like Koh Kho Khao, Koh Koh Khao, Koh Koh Kao, Koh Kho Khao Island, Koh Kor Kao, Kho Koh Khao, Kho Kho Kao Island, Koh Kho Khao, Koh Kao, Koh Kor Kao, Koh Kho Kao Island, Koh Khao Island, Ko Koh Khao, Kho Kho Khao, Ko Kho Khao, Koh Kho Kao Island and Kor-Khao Island

For more information on the hotels or on neighbouring beaches, please click the buttons to the left side.

Saturday, March 14, 2009

ข้อมูลทั่วไป-เกาะคอเขา

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติความเป็นมา

ตำบลเกาะคอเขา เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบเป็นทะเลน้ำลึกเดิมมีการค้าขายกับต่างชาติและมีฐานะ เป็นกิ่งอำเภอ ต่อมาได้ลดฐานะเป็นตำบล ขึ้นอยู่กับอำเภอคุระบุรีระยะหนึ่ง แต่เพื่อความเหมาะสมปัจจุบัน ตำบลเกาะคอเขา เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอตะกั่วป่า สภาพทั่วไปของตำบล
สภาพ ทั่วไปเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ เดินทางเข้าสู่ตำบลได้ด้วยทางเรือ จะมีเรือรับจ้างและแพขนานยนต์ไว้บริการนักท่องเที่ยว โดยจะมีท่าเทียบเรือในหมู่ที่ 2 บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง

อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ จรด ทะเลในอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
ทิศใต้ จรด ทะเลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ทิศตะวันออก จรด คลองบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ทิศตะวันตก จรด ทะเลอันดามัน
จำนวนประชากรของตำบล
ประชากรทั้งสิ้น จำนวน - คน เป็นชาย - คน เป็นหญิง - คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก ทำการประมง การเกษตร
อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1. เกาะผ้า
2. แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก(เหมืองทอง)
3. สำนักสงฆ์ทุ่งตึก
4. ป่าชายเลน
5. ทุ่งสนามบิน(สนามบินเก่าสมัยสงครามโลก)
6. อำเภอเก่า(บ้านเมืองใหม่)

การคมนาคม สาธารณูปโภค

เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
เดินทางเข้าสู่หมู่ที่ 2 บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง ด้วยถนนคอนกรีต ถึงท่าเทียบเรือในบ้านน้ำเค็มและโดยสารเรือรับจ้างหรือแพขนานยนต์สู่ท่า เทียบเรือ บ้านปากเกาะ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะคอเขา และเดินทางไปสู่หมู่บ้านอื่น ๆ ได้ด้วยถนนลาดยาง

สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
ตำบลเกาะคอเขามีไฟฟ้าใช้ขณะนี้กำลังดำเนินการติดตั้งระบบประปาหมู่บ้าน มีชุมสายโทรศัพท์อยู่ 1แห่งภายในเกาะ แต่เสียดายที่ยังติดตั้งได้ไม่ทั่วถึง
หมายเหตุ : ระบบการสื่อสารภายในเกาะส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ ระบบ เอไอเอส จะมีสัญญาณคลอบคลุมเกือบที้งเกาะ ดีแทคใช้ได้เฉพาะหมู่ 3,4 ทรูมูฟใช้ได้เฉพาะหมู่ 3,4 ระบบซีดีเอ็มเอ ใช้ได้ หมู่ 3,4

อัตราค่าโดยสารข้ามฟากไปเกาะ
1. เรือเฟอรี่ สามารถบรรทุกรถยนต์ 4 ล้อเล็กครั้งละประมาณ 4 คัน ราคาค่าโดยสารไปกลับ 400 บาท นอกจากนี้สามารถบรรทุกรถที่ใหญ่กว่าเช่น รถสิบล้อ หกล้อ ราคาตามที่ตกลง
2. เรือโดยสารหางยาว บรรทุกได้เฉพาะรถจักรยานยนต์เท่านั้น ราคาโดยสารต่อเที่ยวไม่รวมคนซ้อนท้ายคันละ 20 บาท ผู้ขับขี่กับคนซ้อนท้ายคิดราคา 30 บาท กลางคืนคันล่ะ 40 บาท
3. ค่าโดยสารคนละ 10 บาทกรณีไม่มีพาหนะข้าม
หมายเหตุ : เรือเฟอรี่หยุดให้บริการเวลา 6 โมงเย็น ส่วนเรือโดยสารหางยาวสามารถเรียกได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ราคาโดยสารตอนกลางคืนไม่ควรต่ำกว่า 2 เท่าของราคาปกติ




เมืองท่าโบราณ มุมมองจากทะเลสู่ฝั่ง

ปัจจัยความเป็น'เมืองท่าโบราณ'มุมมองจากทะเลสู่ฝั่ง

โดย เอิบเปรม วัชรางกูร

แต่เดิมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาบ้านเมืองจากกลุ่มหรือหมู่บ้านขนาดเล็กไป เป็นเมืองใหญ่นั้น เชื่อว่าขึ้นอยู่กับเงื่อนไขความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรเป็นสำคัญ ทว่า หากเมืองนั้นๆ จะสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองท่า หรือเมืองหลวงได้กลับต้องมีปัจจัยอื่นๆ มาสนับสนุนด้วย ขนาดของความเป็น 'บ้าน' หมู่บ้าน ชุมชน เมือง เมืองท่า และเมืองหลวง จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำจืดเป็นลำดับแรก ในระดับ 'หมู่บ้าน' ยังต้องมีปัจจัยเพิ่มเกี่ยวกับอาหาร การทำเกษตรและ/หรือการประมง ในระดับ 'ชุมชน' ยิ่งจำเป็นต้องมีปัจจัยอื่น ได้แก่ ทรัพยากรแร่และของป่า ระดับเมืองต้องมีปัจจัยด้านเส้นทางเดินทางบกหรือทางช่องเขาเพิ่ม เช่นเดียวกับระดับ 'เมืองท่า' ที่นอกจากต้องมีปัจจัยต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ยังต้องมีที่จอดเรือหรือแหล่งกำบังลม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสู่ความเป็น 'เมืองหลวง' ไม่จำเป็นต้องเป็นแหล่งเดียวกับเมืองท่าเสมอไป เมืองท่าอาจเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง โดยมีเส้นทางคมนาคมทางน้ำเชื่อมถึง ระดับเมืองหลวงจำเป็นต้องมีปัจจัยทางการเมืองการปกครอง ระบบศาสนา ความเชื่อ พัฒนาการทางเทคโนโลยี เงื่อนไขของสงคราม และที่สำคัญต้องมีระบบกลไกการตลาดมาเอื้อ

ปมเหตุว่าด้วยการตั้งถิ่นฐาน
การศึกษาในระยะแรกเรื่องการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ เป็นการศึกษาโดยนักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน ตั้งแต่ พ.ศ.2442 เป็นการศึกษาแบบพรรณนา เน้นให้เห็นจำนวนประชากรที่ทำให้หมู่บ้านกลายเป็นชุมชนและขยายตัวขึ้นเป็น เมืองตามลำดับ เป็นการศึกษาเพื่อการวางผังเมือง การแก้ปัญหาประชากรและสิ่งแวดล้อม เมื่อเมืองเกิดปัญหา การศึกษาในแง่นี้ไม่ได้เน้นไปยังปัจจัยพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ในแนวทาง มานุษยวิทยา ซึ่งศึกษามนุษย์ตั้งแต่มีการรวมกลุ่มกันก่อนการตั้งถิ่นฐาน
แม้แต่การศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีก็ได้แต่บรรยายว่า ที่ใดเป็นเมืองสำคัญหรือเป็นศูนย์กลางการปกครอง โดยการตีความ การแปลความหมายจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์-โบราณคดีที่พบ โดยมิได้ตอบคำถามว่า ทำไมเมืองเหล่านี้จึงมีกำเนิดขึ้นที่นั่น และทำไมเมืองบางแห่งจึงเสื่อมลง ขณะที่เมืองบางแห่งยังคงทำหน้าที่สืบเนื่องจนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมืองท่าโบราณชายฝั่งทะเลต่างๆ
ดังที่เกริ่นแล้วว่า ปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ คือน้ำจืดและอาหารที่ได้จากการเก็บของป่า-ล่าสัตว์ หมายรวมถึงการจับปลา น้ำจืดซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งของการดำรงชีวิต ทำให้การเกษตรเป็นปัจจัยการพัฒนาโรงเรือนแบบโยกย้ายมาเป็นการตั้งถิ่นฐานริม ฝั่งน้ำ เกิดการตั้งบ้านเรือน เกิดหมู่บ้าน ทำให้เกิดลักษณะรูปร่างของชุมชน ที่เป็นไปตามรูปร่างของสถานที่ที่หาน้ำอุปโภคบริโภคและอาหาร รูปร่างของแหล่งน้ำจะเป็นตัวกำหนดรูปร่างชุมชนและชุมชนนั้น
หากมีปัจจัยอื่นสนับสนุนก็จะขยายตัว เพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเป็นเมือง เกิดศูนย์กลางประชาคมของเมืองทางเศรษฐกิจ การค้า การเมืองการปกครอง การขยายตัวของเมืองที่เกิดจากการเพิ่มจำนวนประชากรจึงเริ่มขึ้น ทั้งการเพิ่มจากภายในและการอพยพโยกย้ายเข้ามา อันเนื่องมาจากการติดต่อ ค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน
ก่อนยุคอุตสาหกรรม การขนส่งทางน้ำสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากกว่าการขนส่งทางบก เมื่อเปรียบเทียบในแง่ปริมาณและเวลาต่อระยะทาง การขนส่งทางน้ำ หมายรวมถึงเรือชนิดต่างๆ แพไม้ไผ่และแพซุง ซึ่งขนส่งสินค้า เดินทางจากดินแดนภายในออกสู่ปากแม่น้ำมุ่งหน้าสู่เมืองท่าอื่นๆ ปริมาณสินค้าที่เรือแม่น้ำลำหนึ่งขนส่งได้อาจถึง 200-300 ตันต่อเที่ยว ขณะที่เรือสำเภาเดินทะเลจะขนส่งสินค้าได้ถึง 4,000 ตันต่อเที่ยว หรือมากกว่า
หลักฐานจากเอกสารของนักเดินทางชาวจีน เช่น โจว ต้า กวาน กล่าวว่า พ่อค้าชาวจีนมาตั้งถิ่นฐานแถบเมืองลุ่มแม่น้ำต่างๆ ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 8 แม้ชุมชนบนพื้นที่ราบลุ่มริมน้ำจะมีลักษณะเป็นชุมชนการเกษตร แต่การส่งออกผลผลิตจากการเกษตรกลับน้อยกว่า เรียกได้ว่าผลิตเพียงพอสำหรับชุมชนเท่านั้น สินค้าข้าวจึงเป็นที่ต้องการ จีนยอมลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีให้กับเรือสำเภาที่บรรทุกข้าวไปค้าขายกับ จีน ต่อมาเมื่อระบบการปกครองเปลี่ยนเป็นอำนาจรัฐรวมศูนย์แบบศักดินาในสมัยอยุธยา การส่งออกสินค้าชุมชนก็เปลี่ยนเป็นส่วยของป่าที่ส่งให้รัฐ เพื่อทดแทนการเกณฑ์แรงงาน โดยที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดการค้ากับต่างประเทศภายใต้ระบบศักดินาตลอดมาจนถึงการ เปลี่ยนแปลงในยุคการค้าเสรี ตามสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ.2398 ก่อนหน้านี้เล็กน้อย ใน พ.ศ.2363 (รัชกาลที่ 2) สินค้าออกของไทย ประเภทข้าว คิดเป็น 14.7% ของสินค้าทั้งหมด โดยที่สินค้าหลักที่ตลาดภายนอกต้องการ และเป็นสิ่งเกินต้องการหรือเหลือใช้ คือของป่า เช่น หนังสัตว์ ครั่ง น้ำผึ้ง รังนก งาช้าง ไม้สัก ไม้ฝาง หวาย เครื่องเทศ ฯลฯ นั่นหมายความว่าข้าวไม่ได้เป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับหนึ่ง

สาระสำคัญของการเกิดเมืองท่า
การขนส่งทางน้ำอาจเริ่มจาก 'สถานีขนส่งสินค้า' ซึ่งอาจเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก อยู่ริมฝั่งน้ำทางตอนในแผ่นดิน ซึ่งมีเส้นทางติดต่อขนส่งสินค้าหลากหลายชนิด จำนวนน้อยจากต้นทางจากหลายแห่งมารวมกัน อาจเป็นการบรรทุกผ่านช่องเขามาทางบก และขนส่งผ่านทางลำน้ำย่อยล่องลงตามสาขาลำน้ำต่างๆ สู่ลำน้ำสายใหญ่
ขนาดและจำนวนของสถานีย่อยและสถานีใหญ่ขึ้นอยู่กับระยะทางของลำน้ำ ทั้งนี้ลักษณะลำน้ำก็มีผลในการขนส่งเช่นกัน กล่าวคือ ลำน้ำที่มีลักษณะคดเคี้ยว หรือมีเกาะแก่งกีดขวางมากย่อมเป็นอุปสรรคในการขนส่งมากกว่า ลำน้ำสายใหญ่และยาว ไม่มีสิ่งกีดขวาง ย่อมมีชุมชนหรือสถานีการค้าจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอาจยกสถานะเป็น 'เมืองท่า'
เมืองท่านี้ต้องมีลักษณะทางกายภาพที่สมบูรณ์ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค รวมไปถึงลักษณะภูมิประเทศชายฝั่งทะเลที่เอื้อต่อการจอดเรือ การขนส่งสินค้าขึ้นลงเรือ ไม่มีคลื่นลมแม้ในฤดูมรสุม เช่น อ่าวรูปโค้งกำบังลม หรือลำน้ำกว้างพอและลึกเข้าไปในปากแม่น้ำพอสมควร ดังนั้น เมืองท่าคือชุมชนปากแม่น้ำซึ่งเติบโตมาจากชุมชนริมน้ำขนาดเล็ก อยู่ริมลำน้ำที่ไหลลงสู่ทะเล จะต้องเป็นย่านที่ลึกเข้ามาภายในปากแม่น้ำ ซึ่งพ้นจากน้ำทะเลหนุนและน้ำกร่อย มีน้ำจืดสมบูรณ์ เมืองท่าโบราณต่างๆ ริมฝั่งทะเล จึงไม่ได้เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนชายหาดริมทะเล
ปัจจัยสำคัญต่อมาคืออาหาร ผลผลิตการเกษตร ทรัพยากรแร่ธาตุวัตถุดิบและสินค้า รวมทั้งเส้นทางการขนส่งสินค้าที่ติดต่อกับดินแดนภายในได้สะดวก ซึ่งในเวลาต่อมาการพัฒนาการทางเทคโนโลยีการขนส่ง ทำให้การขนส่งทางบกซึ่งรวดเร็วกว่า ก้าวนำหน้ามาเป็นการขนส่งที่ได้รับความนิยม แต่การขนส่งขนาดใหญ่ ปริมาณสูง ยังคงเป็นการขนส่งทางน้ำที่ดำเนินอยู่ต่อไป เมืองท่าแห่งใดที่มีปัจจัยสมบูรณ์ทุกด้านหรือมากกว่าย่อมมีศักยภาพในการขยาย ตัวมากกว่าเมืองอื่นๆ แม้ว่าจะตั้งอยู่ใกล้ และมีสภาพภูมิประเทศคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างของการเจริญเติบโตระหว่างเมืองตรังกับสตูล เมืองจันทบุรีกับระยอง เพชรบุรีกับประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

ย้ายเมืองเพราะการขนส่งเสื่อม
นักภูมิศาสตร์และนักธรณีวิทยาตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า ชายฝั่งทะเลในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-12 น่าจะอยู่ในระดับลานตระพักทะเล (Marine terrace) ช่วงที่มีความสูงระหว่าง 3.5-4 เมตร จากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน ดังนั้นแนวชายฝั่งทะเลเดิม น่าจะเป็นอ่าวลึกเข้าไปในแผ่นดิน และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่อยู่รอบๆ เมื่อชายฝั่งทะเลถอยร่นออกไปมากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทางน้ำสายหลักและ สายรอง ทำให้หลายเมืองที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องย้ายเมือง ตัวอย่างการย้ายเมืองที่เกิดจากการถอยร่นของชายฝั่งทะเล ได้แก่ เมืองอู่ทอง เมืองที่มีบทบาทเป็นเมืองหลวงและเมืองท่าสำคัญของรัฐทวารวดีในยุคแรก(พุทธ ศตวรรษที่ 9-13) และมีเมืองนครปฐมโบราณซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นเมืองหลวงและเมืองท่า สำคัญในสมัยทวารวดียุคหลัง (พุทธศตวรรษที่ 13-16)
แต่เดิมมีข้อสมมติฐานว่า การย้ายเมืองหลวงของทวารวดีมีสาเหตุจากการอดอยากหรือเกิดโรคระบาด ทว่าหากพิจารณาในมุมมองการค้าและการขนส่งอาจทำให้เกิดข้อสมมติฐานใหม่ สาเหตุที่ทำให้เมืองอู่ทองซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญต้องลดความสำคัญลง อาจเกิดจากการที่ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ทำให้เรือเดินลำน้ำไม่สามารถเข้าไปรับสินค้าของป่าเพื่อถ่ายเทสินค้าได้ อย่างเคย พ่อค้าจึงเลือกสถานีขนส่งแห่งใหม่ที่สะดวกรวดเร็วกว่า ได้แก่ เมืองสุพรรณบุรีและเมืองนครปฐม (สมมติฐานนี้มีข้อสนับสนุน คือเมื่อรัฐบาลตัดถนนมาลัยแมนจากนครปฐมผ่านไปอำเภออู่ทอง เมื่อปี พ.ศ.2480 ทำให้เศรษฐกิจเมืองอู่ทองกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ต่อเมื่อมีการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 304 ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ทำให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-สุพรรณบุรีไม่ต้องผ่านอู่ทอง บทบาทของอู่ทองด้านการค้าและการคมนาคมก็ลดลงอีกครั้ง) ในอีกกรณี เช่น เมืองท่าโบราณที่เมืองศรีมโหสถหรือเมืองพระรถ ปราจีนบุรี และเมืองพระรถ พนัสนิคม ชลบุรี เป็นเมืองท่าโบราณสมัยทวารวดีริมลำน้ำบางปะกง มีอายุอยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองดงละคร นครนายก และเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี เมืองท่าโบราณทางภาคตะวันออกเหล่านี้ เป็นตลาดการค้าแรกเริ่มในย่านนี้ ก่อนระยะชายฝั่งทะเลถอยร่น มีกลุ่มชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นราวสมัยอยุธยา การที่ชาวจีนไม่มีพันธะผูกพันเรื่องส่วยและการเกณฑ์แรงงาน ทำให้ชาวจีนมีโอกาสทำการค้ากับรัฐ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้า เช่น น้ำตาล พริกไทย รวมถึงการทำหน้าที่จัดเก็บส่วยส่งให้ส่วนกลาง ระยะเวลานี้เกิดเมืองท่าใหม่คุมอำนาจการค้าบริเวณที่ลุ่มปากแม่น้ำบางปะกง คือเมืองศรีพโล และเมืองบางปลาสร้อยที่เริ่มมีชื่อปรากฏอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 20) และกลายเป็นเมืองชลบุรีในปัจจุบัน
ลักษณะเช่นนี้คือ การเปลี่ยนระบบสินค้าจากการจัดเก็บส่วยส่งส่วนกลาง มาเป็นการจัดเก็บภาษี ในขณะเดียวกัน การเป็นเมืองท่าค้าขาย ก็ยังคงทำหน้าที่เดิมมาจนปัจจุบัน และมีปัจจัยเสริมการขยายตัวในเรื่องการเมืองการปกครอง เทคโนโลยีของการคมนาคมขนส่งที่เปลี่ยนไปเป็นการขนส่งทางบกซึ่งรวดเร็ว รวมไปถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในปัจจุบัน

เมืองท่าโบราณภาคใต้
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้คาบสมุทรนี้มีร่องรอยอารยธรรมยาวนาน น่าจะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่กั้นกลางการติดต่อระหว่างจีนและ อินเดีย ซึ่งทั้งสองฟากต่างมีสินค้าที่อีกฟากหนึ่งต้องการ และดินแดนที่เป็นที่พักระหว่างทางก็อยู่บนพื้นที่ที่เหมาะสม ทั้งในการพักหลบมรสุม การเก็บและส่งต่อสินค้า อีกทั้งย่นระยะการเดินทางให้สั้นลงไม่ต้องอ้อมแหลมมลายูที่มีโจรสลัดชุกชุม ทำให้ผู้คนมาอยู่อาศัยมากขึ้น พัฒนาเป็นรอยอารยธรรมที่สืบเนื่องยาวนาน และยังคงดำเนินอยู่ต่อเนื่องนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน พื้นที่นี้เป็นที่กำเนิดเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่ง เมืองปัตตานีซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นศูนย์กลางการค้าและ เมืองท่านานาชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีที่ตั้งเมืองหลายแห่งใกล้เคียงกันตามเวลาที่ผ่านไป ได้แก่ เมืองโบราณยะรัง มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-15 เมืองสมัยต่อมาที่กรือเซะ และเมืองปัตตานีปัจจุบันที่จะบังติกอ ซึ่งเป็นท่าเรือประมง และที่ตั้งศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองปัจจุบัน เชื่อว่าเดิมมีชื่อว่า ลังกาสุกะ มีที่ตั้งอยู่บริเวณเมืองยะรัง เป็นเมืองท่าปากแม่น้ำที่ต่อมาตื้นเขินจากภาวะทะเลถดถอย ปากแม่น้ำกลายเป็นป่าชายเลนที่ชายฝั่งทะเลถอยห่างออกไปตามเวลา เนื่องจากพื้นที่เป็นที่ราบ ทางน้ำจึงเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา เนื่องจากปัตตานีเป็นเมืองท่าสำคัญตั้งแต่โบราณ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ตั้งเมืองจึงขยายตามออกมาใกล้ชายฝั่งมากขึ้น เป็นการขยับตัวตามแนวลำน้ำที่เปลี่ยนไป ที่จังหวัดกระบี่ ร่องรอยการติดต่อค้าขายทางทะเลที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ที่ ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม พบหลักฐานที่เกี่ยวพันกับวัฒนธรรมกรีก อาหรับ อินเดีย และจีน เป็นเครื่องมือหิน เครื่องประดับทำด้วยดินเผา แก้ว และแร่รัตนชาติ กำหนดอายุได้ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 5-12 ปัจจุบันโบราณวัตถุต่างๆ เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม ชุมชนที่คลองท่อมนี้น่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ระดับเมืองท่าเรือขนถ่ายสินค้า ที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับโลกตะวันตก มีการตรวจตรา เก็บกักสินค้า เก็บภาษี โดยสังเกตจากเศษตะเกียงดินเผาโรมัน ลูกปัดสุริยเทพหรือลูกปัดหน้าคนแบบอียิปต์หรือโรมัน รวมไปถึงตราประทับอักษรสันสกฤตของอินเดียอ่านว่า ทาตวยัง แปลว่า ควรให้, สมควรให้ (อนุมัติ)
นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่าดินแดนแถบนี้คือ เมือง 'ตะโกลา' ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุภูมิศาสตร์ของคลอดิอุส ปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก
ชุมชนนี้ถูกทิ้งร้างไปในสมัยต่อมา มีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะเกิดโรคระบาด หรือถูกรุกรานจากกลุ่มทมิฬทางอินเดียใต้ซึ่งแผ่อำนาจมายึดคาบสมุทรมาลายู อยู่ถึง 20 ปี ก่อนที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (จันทรภานุ) มีอำนาจเข้มแข็งขึ้นและไปตีเกาะลังกาถึง 2 ครั้ง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนการตั้งสุโขทัยเป็นราชธานี (ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช) แต่ในอีกทางหนึ่งที่เป็นไปได้มากคือ ชุมชนคลองท่อมมีปัจจัยแวดล้อมเบื้องต้นครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านอุปโภคบริโภคและทรัพยากรสนับสนุนการผลิตเครื่องแก้ว ลูกปัด แต่ชุมชนคลองท่อมไม่มีเส้นทางติดต่อกับชุมชนอื่นทางบกหรือลำน้ำติดต่อขนส่ง สินค้ากับดินแดนภายใน มีเพียงคลองท่อมซึ่งเป็นลำน้ำสายสั้นๆ เท่านั้น ไม่เป็นลำน้ำที่มีคุณสมบัติมากพอด้านการขนส่งสินค้ากับดินแดนภายใน ความเหมาะในพื้นที่ คือเหมาะแก่การจอดเรือ มีสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความนิยม เป็นที่ต้องการของตลาดเฉพาะกาล ดังนั้นการเกิดชุมชนคลองท่อมที่มีผลผลิตเฉพาะตัวดังกล่าวจึงเป็นไปโดยการที่ มีทรัพยากรจำกัดที่เหมาะสมเฉพาะกิจ ในปัจจัยเบื้องต้นเท่านั้น การย้ายเมืองออกสู่ปากน้ำที่ตัวเมืองกระบี่ในยุคต่อมา (เดิมที่ตั้งเมืองอยู่ที่เมืองปกาไส ปัจจุบันคือตำบลปกาไส เป็นเมืองที่ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช มีกำเนิดจากการเป็นย่านจับช้างป่า ภายหลังคลองปกาไสตื้นเขิน จึงย้ายมาตั้งใกล้ทะเลที่ปากแม่น้ำกระบี่ที่เป็นตัวเมืองในปัจจุบัน) โดยที่มีคลองกระบี่น้อยและคลองกระบี่ใหญ่เป็นชื่อเดิมอยู่แล้ว จึงตั้งชื่อเป็นเมืองกระบี่ตั้งแต่นั้น
ตรังในยุคประวัติศาสตร์ มีร่องรอยของความเป็นชุมชนศรีวิชัยในราวปีพุทธศตวรรษที่ 12-15 เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝั่งแม่น้ำตรังแถบอำเภอห้วยยอด มีหลักฐานเป็นพระพิมพ์ดินดิบแบบศรีวิชัย ที่ชาวบ้านเรียกว่าพระผีทำ แสดงถึงการติดต่อกันทางบกระหว่างทะเลฝั่งตะวันตกกับทะเลฝั่งตะวันออก โดยเป็นเส้นทางสายสำคัญสายหนึ่งในหลายสายของเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามคาบสมุทร แม่น้ำตรังเป็นแม่น้ำสายยาว ต้นน้ำมีเส้นทางทางบกบริเวณอำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช ติดต่อกับต้นแม่น้ำตาปีที่ไหลลงอ่าวไทยที่สุราษฎร์ธานี เป็นแม่น้ำสายกว้าง เรือขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าได้ลึกถึงดินแดนภายใน ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีท่าเรือใหญ่ในเขตอำเภอเมือง เรียกว่าท่าจีนและเหนือขึ้นไปยังมีบ้านอู่ตะเภา และบ้านทุ่งทัพเรือ เมืองตรังเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรนครศรีธรรมราช และเมื่อนครฯ กลายเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในสมัยต่อมา ตรังซึ่งยังคงเป็นส่วนหนึ่งของนครศรีธรรมราช ก็ยังคงบทบาทในการเป็นเส้นทางการค้าสำคัญของสองฝั่งมหาสมุทรต่อมาจนปัจจุบัน
เมื่อ มีเส้นทางคมนาคมทางบกโดยมีทางรถยนต์และรถไฟ ตรังก็เปลี่ยนหน้าที่จากการเป็นเมืองท่าขนส่งสินค้าจากดินแดนภายในทางเรือ มาเป็นเมืองท่าที่รับสินค้าจากการขนส่งทางบก สู่ทะเลภาคใต้จนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยสนับสนุนส่วนอื่นๆ ที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของแต่ละเชื้อชาติหรือวัฒนธรรม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด จากระยะหลังจากสมัยการล่าอาณานิคม การคุ้มครองผลประโยชน์อาจทวีความรุนแรง เป็นการเข้ายึดครองพื้นที่ การยึดครองเส้นทางขนส่งสินค้า กลายป็นสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์ ทั้งนี้อาจหมายรวมไปถึงการเมือง การปกครอง ที่ใช้คติความเชื่อทางศาสนาเข้าช่วย ผสมผสานกับเทคโนโลยีการก่อสร้าง การพยายามเอาชนะธรรมชาติ ทำให้ปัจจัยของการตั้งเมืองท่าในสมัยปัจจุบัน แตกต่างไปจากกำเนิดเมืองท่าในสมัยโบราณ
เส้นทางการขนส่งสินค้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิด เติบโต และสลายตัวของเมืองท่า นอกเหนือไปจากปัจจัยการดำรงชีวิต ที่เป็นต้นกำเนิดของชุมชน

เมืองโบราณทุ่งตึก

ประวัติความเป็นมา
เมืองโบราณ / เหมืองทอง / ทุ่งตึก ฯลฯ

สถานที่ตั้ง บ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
พิกัดภูมิศาสตร เส้นรุ้ง ๘ องศา ๓๕ ลิปดา ๒๐ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวง ๙๘ องศา ๑๖ ลิปดา ๕๒ ฟิลิป
แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา หรือที่เรียกว่า แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก เกาะคอเขา เป็นเกาะ ขนาดเล็กยาว ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕ กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ปากแม่น้ำตะกั่วป่า มีลักษณะคล้ายสันทราย มีป่าไม้ โกงกางทางด้าน ฝั่งตะวันออก ของเกาะส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกของเกาะหันหน้าออกสู่ทะเลอันดามัน ของมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านเหนือของเกาะมีภูเขาเตี้ย ๆ ทอดตัว ในแนวเหนือ-ใต้ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญบนเกาะคอเขาตั้ง อยู่ในบริเวณ ที่ชาวบ้าน เรียกกันว่า "ทุ่งตึก" หรือ "เหมืองทอง" เหตุที่เรียกเช่นนี้คงจะเป็น เพราะ ว่าในบริเวณนี้มีซาก อาคารโบราณสถานอยู่ ๓ แห่ง นอกจากนี้ในบริเวณนี้ยังได้ พบฐานเทวรูป เหรียญเงิน อินเดีย เศษทองคำ และผงทรายทอง ปัจจุบันโบราณ สถาน ดังกล่าวถูกทำลายไป คงเหลือ แต่เ พียงซาก ของฐานก่ออิฐ เพียงบางส่วน เท่านั้น แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา หรือ เหมืองทอง ได้มีการสำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยพบซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐขนาดยาว ๖๐ หลา กว้าง ๓๐ หลาสูงจากระดับพื้นดินประมาณ ๖ ฟุต และพบเศษภาชนะดินเผา ที่ผลิตใน สมัยราชวงศ์ถังของจีน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) และเครื่องแก้วของ ชาวเปอร์เซีย โดยที่ไม่ได้ดำเนินการขุดค้นในชั้นดินธรรมชาติ โบราณวัตถุ เหล่านี้จัดได้ว่า มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ จากโบราณวัตถุที่พบ เป็นจำนวนมาก แหล่ง โบราณคดีแห่งนี้ทำให้นักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเป็น อย่างมาก ดร.เอช.จี ควอริทซ์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษก็เคยมาขุดตรวจดูชั้นดินครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และนักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ทุ่งตึกเป็นที่ตั้งเมืองท่าโบราณซึ่งชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวอาหรับ และชาวมลายู มาทำมาค้าขาย เพราะตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมในการเป็นที่จอด เรือหลบคลื่นลม มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ทะเลหลวงขนาดใหญ่สามารถเข้าออกสะดวก อีกทั้งตั้งอยู่ตรงปากแม่น้ำตะกั่วป่าซึ่งการคมนาคมทางเรือทั้งขึ้นและล่อง ตามลำแม่น้ำจะต้องผ่านเสมอ
ทุ่งตึกนอกจากจะเป็นเส้นทางผ่านของเรือสินค้าหลายชนิดแล้ว ยังมีหลักฐานน่าเชื่อว่า เมื่อครั้งที่ชาวอินเดียอพยพหนีภัยลงเรือหนีมายังดินแดนทางเอเชียอาคเนย์ ได้มาขึ้นบกและตั้งหลักแหล่งที่ทุ่งตึกหรือตะกั่วป่าก่อนระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อถูกข้าศึกศัตรูตามรบกวนและโรคภัยไข้เจ็บรบกวน จึงได้อพยพเดินทางข้ามไปตั้งเมืองทางบริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออก เพราะได้พบว่า ตลอดเส้นทางอพยพชาวอินเดียได้ก่อสร้างเทวสถานและรูปเคารพเอาไว้ อาทิ รูปปั้นพระนารายณ์ ซึ่งปรากฎในหลายแห่งจึงเป็นเครื่องแสดงถึงอารยธรรมอินเดียที่แพร่เข้าสู่ใน เขตภูมิภาคนี้
ทุ่งตึกคงจะเจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยศรีวิชัยในนามเมืองตะโกลาและตกอยู่ภาย ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยเป็นเวลานาน ส่วนสาเหตุการซบเซาลงไปนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงมาจากเกิดสงครามหรือถูกศัตรูรุกรานในตอนปลายของสมัยศรีวิชัย

ลักษณะทั่วไป
แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขามีซากอาคารโบราณสถานอยู่ ๓ แห่ง และพบ ฐานเทวรูป เหรียญ เงินอินเดีย เศษทองคำ และผงทรายทอง และโบราณสถาน ก่อด้วยอิฐขนาดยาว ๖๐ หลา กว้าง ๓๐ หลา สูงจากระดับพื้นดินประมาณ ๖ ฟุต และได้พบเศษภาชนะดินเผา ที่ผลิตในสมัยราชวงศ์ถังของจีน เครื่องแก้วของ ชาวเปอร์เซีย

หลักฐานที่พบ
๑. ประติมากรรมเทพีและโอรส ประติมากรรมชิ้นนี้ทำจากหินปูน แต่ลวดลาย ต่าง ๆ ลบเลือนมาก เทวรูปนี้มีฐานกว้าง ๖๐ เซนติเมตร ส่วนสูง ๖๕ เซนติเมตร ประติมากรรม เทพี ประทับนั่งชันพระชงฆ์ซ้ายวางพระบาทซ้ายทับบนพระบาทขวา พระหัตถ์ซ้าย โอบโอรส พระหัตถ์ขวาถือลูกกลมหรือก้อนดิน หรือธรณี โอรส ประทับนั่งบนพระชงฆ์ซ้าย เทพีโดยพระบาทลงเบื้องล่าง พระหัตถ์ขวาชูเหนือ เศียร ทั้งเทพีและโอรสมุ่นมวยผมสูง ทรงสวมกรองคอพาหุรัด ส่วนกุณฑล ทรงกลม นุ่งผ้าเว้าลงใต้พระนาภี ปรากฏ ชายผ้านุ่งท ี่ของพระบาททั้งสองข้าง
๒. ฐานเทวรูป เป็นฐานเทวรูปที่ทำจากหินปูน ตรงกลางจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ ๑๒ เซนติเมตร
๓. แท่งหินปูน เป็นแท่งหินปูนที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดกว้าง ๓๑ เซนติเมตร สูง ๕๕ เซนติเมตร แท่นนี้อาจจะเป็นที่สำหรับวางรูปเคารพก็ได้
๔. เครื่องประดับทำด้วยหิน แร่ประกอบหิน เช่น กำไล หิน จักรหิน ลูกปัดหิน
๕. เศษภาชนะดินเผา ก็จะมีภาชนะประเภทพื้นเมือง เช่น พวยการูปแบบตรง กลางป่องเป็นรูปวงแหวน เนื้อละเอียดและพวยกาสั้นและยาวแต่โค้งลง เนื้อมัก หยาบ และภาชนะดินเผาประเภทที่มาจากต่างประเทศ เป็นภาชนะดินเผา เคลือบสีน้ำตาล แบบฉาง-ชา (Shang - Sha) ในมณฑลโฮนาน (Honan) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเครื่องมือเครื่องใช้โลหะ (สำริด - เหล็ก)

หมายเหตุ : เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗ สำนักงานศิลปากรที่ ๑๕ จังหวัดภูเก็ต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)ได้ดำเนินการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านทุ่งตึกหรือชาวบ้านเรียก ว่า "เหมืองทอง" ในพื้นที่ ๑๐๐ ไร่ บนเกาะคอเขาด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ป่าชายเลน ม.๔ ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้พบซากโบราณสถานขนาดเล็กจำนวน ๗ หลังตั้งเรียงรายกัน ภายในขุดพบขุดพบกระเบื้องดินเผามุงหลังคาจำนวนมาก บริเวณนอกพบบ่อน้ำโบราณ ๑ บ่อ คาดว่าเป็บส่วนหนึ่งของชุมชนโบราณชื่อ "ตักโกลา" ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญในจดหมายเหตุภูมิศาสตร์ปโตเลมีและคัมภีร์มหานิเทศ ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๑๖ ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าการค้าสมัยโบราณอายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี
สำหรับโบราณวัตถุที่ขุดพบจากโบราณสถานทั้ง ๗ หลัง ประกอบด้วยดินเผาพื้นเมือง เป็นเนื้อดินประดับด้วยลวดลายต่างๆ เช่น ลายประดับรูปทรงเรขาคณิตรูปสี่เหลี่ยม รูปหยักแบบฟันปลา ลายตาราง ฯลฯ นอกจากนั้นยังพบพวยกา ภาชนะใส่น้ำโบราณ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นกาน้ำรูปทรงต่างๆในปัจจุบัน ภาชนะดินเผาของจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ หรือเมื่อ ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งนักประวัติศาสตร์ระบุว่าเป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานใน พื้นที่นี้แล้วมีการค้าขายส่งออกเครื่องถ้วยจีนกับต่าง ประเทศ การล่มสลายของชุมชนโบราณแห่งนี้ได้มีการเดากันไปต่างๆ นานาว่ามาจากหลายสาเหตุจนมาถึงเมื่อ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ได้เกิดเหตุการณ์ คลื่นสึนามิ ถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันได้ทำลายสิ่งก่อสร้างบริเวณริมหาดพังไปในชั่วพริบตา จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่เป็น
ไปได้มากที่สุดถึงการล่มสลาย ประกอบกับหลักฐานที่ค้นพบได้กระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่และในสมัยก่อนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว
มีมากกว่าช่วงปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษาชุมชนโบราณแห่งนี้อย่างจริงจังอาจจะสามารถคาดเดาโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เป็น
สาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิก็อาจเป็นได้ หากเป็นเช่นนั้นจริงความเจริญด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคแห่งนี้คงกลับมาเหมือนเดิมได้
รวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน